อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (เขื่อนห้วยโสมง) อยู่ในพื้นที่อำเภอนาดี กับกบินทร์บุรี ใช้เป็นแหล่งน้ำสำคัญในพื้นที่และป้องกันน้ำท่วม จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ รวมทั้งเขื่อนมีพื้นที่รับน้ำปริมาณมากเนื่องจากการเพิ่มความจุ ยังคงมีความกังวลจากราษฎร ประกอบกับลักษณะของการเกิดอุทกภัย จากการพิบัติของเขื่อนมีลักษณะที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉินสำหรับชุมชน (Emergency Action Plan: EAP) จากการพิบัติของเขื่อนในกรณีต่าง ๆ รวมถึงกรณีเกิดอุทกภัยจากการระบายน้ำของเขื่อนในปริมาณมาก เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่ต้นท้ายน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อศึกษาลักษณะน้ำหลากลงอ่างเก็บน้ำที่เป็นไปได้ในรอบปีต่าง ๆ จนถึงปริมาณมากขั้นรุนแรง (Extreme Event)
2. เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพิบัติของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ทั้งในสภาวะปกติและสภาวะแผ่นดินไหว และโอกาสที่จะเกิดการพิบัติของเขื่อนในรูปแบบต่าง ๆ
3. เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการพิบัติของเขื่อนในรูปแบบและกรณีต่าง ๆ ในเชิงปริมาณ(Quantitative Risk Assessment) เพื่อนำมาประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉิน (Emergency Action Plan: EAP)
4 .เพื่อศึกษาการเคลื่อนตัวของน้ำหลากและผลกระทบที่เกิดจากการระบายน้ำในรอบปีต่าง ๆ จนถึงปริมาณมากขั้นรุนแรง (Extreme Event) และกรณีเขื่อนพิบัติ โดยสภาพพื้นที่ท้ายน้ำอยู่ในสภาวะปกติ สภาวะอุทกภัย
และสภาวะอุทกภัยรุนแรง และแสดงผลในรูปแบบแผนที่ และภาพ เคลื่อนไหว อย่างน้อย 2 มิติ
5. การวิเคราะห์ความต้านทานต่อการพิบัติในกรณีแผ่นดินไหว ด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic)
6. เพื่อจัดทำเกณฑ์ความปลอดภัยเขื่อนและเพื่อการเตือนภัย จากข้อมูลเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน
7. ศึกษาออกแบบเบื้องต้นของระบบเตือนภัย ประกอบด้วย สถานที่ตั้งหอเตือนภัย ระบบโทรมาตรเพื่อการเตือนภัย เครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน รวมทั้งประมาณราคา
8. เพื่อศึกษากำหนดแนวทางการดำเนินงาน รูปแบบแผนปฏิบัติการขององค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเขื่อนและประชาชนด้านท้ายน้ำ ทั้งในกรณีสภาวะปกติ ก่อนการได้รับผลกระทบ เมื่อได้รับผลกระทบ และหลังการได้รับผลกระทบ จากเขื่อนพิบัติหรือการระบายน้ำปริมาณมาก เพื่อลดความเสียหายและการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
9. เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉิน (Emergency Action Plan: EAP) สำหรับชุมชน จากการพิบัติของเขื่อนกรณีต่าง ๆ รวมถึงกรณีเกิดอุทกภัยจากการระบายน้ำของเขื่อนในปริมาณมากเกินความจุลำน้ำด้านท้ายที่เป็นสากลและสอดคล้องกับการดำเนินงานในประเทศไทย
10. เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการเขื่อน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ทั้งในกรณีปกติ และฉุกเฉิน และรองรับการผันน้ำเชื่อมโยงระหว่างเขื่อน
1. รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านอุทกวิทยา ข้อมูลด้านวิศวกรรมของโครงการ ข้อมูลโครงการระหว่างการก่อสร้าง และเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์การพิบัติของเขื่อน
2. ดำเนินการตรวจสภาพเขื่อน สำรวจภูมิประเทศเพื่อจัดทำผังบริเวณ รูปตัดตามยาวและตามขวางของตัวเขื่อน
3. ศึกษาลักษณะของความเสียหายของเขื่อนที่อาจเกิดขึ้น ในด้านขนาด รูปร่าง ระยะเวลาในการเกิดความเสียหาย โดยใช้ข้อสมมติฐานในการวิเคราะห์และขบวนการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมและทันสมัย
4. ศึกษากราฟน้ำหลากจากการระบายน้ำมากกว่าปกติ และที่เกิดจากความเสียหายของเขื่อน โดยการศึกษาครอบคลุมปัจจัยด้านลักษณะทางเรขาคณิตและพื้นที่ผิวน้ำ ระดับน้ำด้านท้ายน้ำและปัจจัยอื่น ๆ เพื่อให้ได้กราฟน้ำหลากและค่าอัตราการไหลสูงสุด โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ ที่เหมาะสมและทันสมัย
5. ศึกษาผลกระทบจากการพิบัติของตัวเขื่อนในกรณีต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ ทั้งกรณีเกิด และไม่เกิดแผ่นดินไหว โดยครอบคลุมขอบเขตพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ การประเมินความเสียหายในรูปแบบพื้นที่ จำนวนอาคารสถานที่ ประชากรที่มีความเสี่ยง จำนวนผู้เสียชีวิตที่เป็นไปได้ และมูลค่าความเสียหาย
6. สำรวจภูมิประเทศในพื้นที่ได้รับผลกระทบโดยสำรวจเพิ่มเติมที่จำเป็น กำหนดแสดงลำน้ำ รูปตัดลำน้ำ สิ่งกีดขวางทางน้ำ ถนน และอื่น ๆ เพียงพอในการทำแบบจำลองและเตือนภัย
Name of Project | โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉิน (EAP) เขื่อนนฤบดินทรจินดา จังหวัดปราจีนบุรี |
Location | อำเภอนาดี และกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี |
Client | กรมชลประทาน |
Duration | ธันวาคม 2565 - ธันวาคม 2566 |
Project Cost |
© 2020 Seatec Group. All Rights Reserved.
Designed by A Must