ลักษณะงานเป็นการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกะเทียมและเริงราง เพื่อให้มีการปรับปรุงระบบชลประทานทั้งระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาจัดทำรายงานการบริหารจัดการน้ำของโครงการชลประทานในลุ่มน้ำในโครงการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกะเทียมและเริงราง โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงและระบบลำน้ำของลุ่มน้ำหลัก และลุ่มน้ำข้างเคียงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการบริหารจัดการจะศึกษาในภาวะปกติ ปีน้ำมาก ปีน้ำน้อยภาวะวิกฤติทั้งอุทกภัยและภัยแล้ง ในสภาพปัจจุบันและกรณีมีการพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการตามผลการศึกษา โดยคำนึงถึงภาพรวมทั้งลุ่มน้ำอย่างเหมาะสมภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
2) ศึกษาจัดทำรายงานความเหมาะสมและประเมินผลโครงการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำ แก้ไขและบรรเทาปัญหาอุทกภัยให้สอดคล้องกับสภาพสังคม การใช้ที่ดิน การเพาะปลูก กิจกรรมการใช้น้ำในปัจจุบัน
3) กำหนดแผนการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน
4) เพื่อศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมให้ทราบถึง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมรวมถึงมีมาตรการป้องกัน ลดผลกระทบ แก้ไขและติดตามตรวจสอบ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากการพัฒานาหรือปรับปรุงโครงการ
5) ดำเนินงานประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมของประชาชนให้สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบที่กำหนดต่อกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ ทั้งผู้ได้รับผลกระทบด้านบวกและด้านลบโดยตรงและกลุ่มเป้าหกมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
งานบริการที่ปรึกษา ประกอบด้วย
•ทบทวนผลการศึกษาเดิมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งของกรมชลประทานและหน่วยงานอื่น
•ศึกษาสภาพอุปสงค์ทุกด้าน (Demand) และอุปทาน (Supply) ในปัจจุบัน และคาดการณ์ในอนาคตอันเนื่องมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่อนำไปสู่การวางแผนการรับมือด้วยมาตรการต่าง ๆ ที่เหมาะสม
•ประเมินผลโครงการในปัจจุบัน ทั้งเชิงเศรษฐกิจสังคมและเชิงวิศวกรรม และนำผลการประเมินมากำหนดแนวทางการปรับปรุงโครงการให้ได้ประโยชน์สูงสุด
•สำรวจสภาพการใช้งาน/ความเสียหาย/ปัญหาอุปสรรคของระบชลประทานและอาคารสำคัญ
•สำรวจ สอบเทียบและวิเคราะห์ เพื่อประเมินปริมาณน้ำชลประทานที่ส่งจริง ครอบคลุมข้อมูลลักษณะทางชลศาสตร์ที่แท้จริงของอาคารควบคุมน้ำที่ปากคลองส่งน้ำ และอาคารหลัก กลางคลองส่งน้ำและสำรวจตรวจสอบค่าการสูญเสียในระบบส่งน้ำ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบส่งน้ำที่แท้จริง (Actual Conveyance Efficiency) และการจัดทำแบบจำลองทางชลศาสตร์เพื่อการศึกษา
•วิเคราะห์ตรวจสอบการรั่วซึมในแปลงนา
•กำหนดแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาหรือปรับปรุงขนาดคลองและอาคารชลประทานในระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำของโครงการให้สามารถส่งน้ำและระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
•จัดทำแบบจำลองการบริหารจัดการน้ำทั้งแบบจำลองทางชลศาสตร์และแบบจำลองสมดุลน้ำที่ง่ายต่อการที่กรมชลประทานจะสามารถนำไปใช้งานต่อในขั้นตอนของการวางแผนการบิรหารจัดการ
•วิเคราะห์ความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยและภัยแล้ง และแนวโน้มความรุนแรงในอนาคต รวมทั้งขีดความสามารถในการรับมือในปัจจุบัน
•รวบรวมข้อมูลการบริหารจัดการในปัจจุบัน ตั้งแต่ต้นน้ำ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา โครงการใกล้เคียงทั้งตอนบน ตอนล่าง ปตร. สถานีสูบน้ำต่างๆ การใช้พื้นที่เป็นทุ่งชะลอน้ำหลาก
•รวบรวมข้อมูลผลสำรวจ และสำรวจเพิ่มเติมด้านต่าง ๆ เช่น แผนที่ การตรวจสอบภาพพื้นที่ที่ตั้งของอาคารต่าง ๆ ตรวจสอบพื้นที่ชุมชน ธรณีวิทยา
•ศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมในการปรับปรุงระบบชลประทานและลำน้ำธรรมชาติ ครอบคลุมถึงการใช้พื้นที่ชลประทานและการระบายน้ำการปรับปรุงคลองและอาคารรูปแบบใหม่ เช่น อุโมงค์ ท่อผันน้ำ การผันน้ำระหว่างแหล่งน้ำที่มีอยู่ ควบคู่ไปกับความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการยอมรับจากสังคม
•จัดทำแผนงานและแผนการลงทุนที่เหมาะสม สำหรับการปรับปรุงโครงการตามผลการศึกษา โดยจัดเป็นแผนงานเร่งด่วน แผนงานระยะสั้น แผนงานระยะกลาง และแผนงานระยะยาว
•ศึกษาการบริหารจัดการน้ำให้เป็นคู่มือทั้งกรณีน้ำปกติ (ปีน้ำเฉลี่ย) น้ำขาดแคลน (ปีน้ำน้อย) น้ำหลาก (ปีน้ำมาก)
•สำรวจ-ออกแบบเบื้องต้น ให้สอดคล้องกับผลการศึกษาความเหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการและมาตรฐานกรมชลประทาน
•สำรวจภูมิประเทศ ปฐพีและธรณีวิทยา จัดทำแนวคิด เกณฑ์ รายละเอียดด้านวิศวกรรมเพื่อใช้สำหรับการออกแบบเบื้องต้น
•คำนวณรายการวัสดุ ครุภัณฑ์ รายการปริมาณงาน (Bill of Quantity) พร้อมคำนวณราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้นให้ครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในแบบเบื้องต้น
•จัดทำแบบเบื้องต้น
•จัดทำแผน/วธีการก่อสร้างเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการส่งน้ำในระหว่างก่อสร้าง หรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุด
•จัดให้มีสื่อสัญจรอย่างน้อย จำนวน 1 ครั้ง เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
•จัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และพจนานุกรมข้อมูลของโครงการ เพื่อให้ใช้งานได้สะอวกและสามารถใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่กรมชลประทานได้พัฒนาไว้แล้ว
•ศึกษาวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจสังคม พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลที่มีนัยสำคัญต่อการศึกษาของโครงการในเชิงลึกทั้งในพื้นที่ได้รับผลกระทบ พื้นที่ชลประทาน พื้นที่รับประโยชน์ และพื้นที่อื่น ๆ (ถ้ามี)
•วิเคราะห์ผลประโยชน์ที่สังคมได้รับจากการพิจารณาโครงการ และวิเคราะห์การกระจายผลประโยชน์สู่สังคมโดยมีตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์ที่สมเหตุผล
•ศึกษาวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Analysis) โดยครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก และรองในทุกแนวทาง/แผนการบริหารจัดการน้ำ/แผนการบรรเทาปัญหาให้มีความชัดเจน พร้อมจัดทำแผนที่แสดงที่ตั้งของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสนอการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการดำเนินการด้านค่าชดเชยที่เหมาะสมและเป็นธรรม
•ศึกษาวิเคราะห์ค่านิยม ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการดำเนินโครงการ
•วิเคราะห์เศรษฐศาสตร์โครงการ โดยครอบคลุมถึงค่าลงทุน/ต้นทุน ผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม พร้อมระบุวิธีการศึกษาวิเคราะห์ในแต่ละรายการของต้นทุนและผลประโยชน์
•วิเคราะห์การคืนทุนของโครงการ
•สรุปผลการศึกษาวิเคราะห์ในประเด็นของผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ ที่สามารถนำไปชี้แจงหรือให้คำตอบต่อประชาชน องค์กร หน่วยงาน และสถาบันต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน
Name of Project | โครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกระเทียม และเริงราง จังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี |
Location | จังหวัดลพบุรี และสระบุรี |
Client | กรมชลประทาน |
Duration | มิถุนายน 2566 - พฤศจิกายน 2567 |
Project Cost |
© 2020 Seatec Group. All Rights Reserved.
Designed by A Must