ส่องนโยบาย 'ประกันสังคม' ปี 2566 เพิ่มประโยชน์ 3 ด้าน ช่วยเหลือผู้ประกันตน

          สำนักงานประกันสังคม หลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิตแก่แรงงานมาตลอด 32 ปี พร้อมก้าวสู่ปีที่ 33 แล้วในปี 2566 เพื่อสร้างสรรค์หลักประกันชีวิตให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่กีและยั่งยืน ปัจจุบันมีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจำนวน 24.03 ล้านคน และเงินกองทุนเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 2.23 ล้านล้านบาท
         สำหรับนโยบายประกันสังคมในปี 2566 นายสุชาต ชมกลิ่น รัฐมนตรีการว่ากระทรวงแรงงาน เพื่อมอบเป็นของขวัญและช่วยเหลือ ผู้ประกันตน ลูกจ้างและนายจ้าง กล่าวไว้ในโอกาสสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ครบรอบ 32 ปี สำนักงานประกันสังคมมีแนวทางในการดำเนินงานได้ ดังนี้
 
นโยบายประกันสังคมในปี 2566
 
1. เพิ่มสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม เพื่อให้ผู้ประกันตนได้มีหลักประกันทางสังคมและได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น และผู้ประกันตนสูงอายุได้รับโอกาส ในการทำงานที่เหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน โดยการปรับปรุง พ.ร.บ. ประกันสังคม ฉบับที่ … พ.ศ. … ได้แก่
  – การขยายความคุ้มครองให้กับผู้ประกันตนเพื่อรองรับผู้สูงอายุ โดยขยายอายุขั้นสูงของผู้ประกันตน  มาตรา 33 ให้ผู้รับเงินบำนาญชราภาพและสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนได้ ให้ผู้รับเงินบำนาญชราภาพ สามารถขอรับเงินบำนาญจ่ายล่วงหน้าได้
  – การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพอันเกิดจากข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน 3 ขอ (ขอเลือก ขอคืน และขอกู้)
  – การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่ เงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตร จากเดิมจ่าย 90 วัน เป็น 98 วัน เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพ จากเดิมจ่าย ร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 70 กรณีสงเคราะห์บุตรให้ได้รับการคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน
  – ปรับปรุงเงื่อนไขในการสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 และกำหนดให้เงินเพิ่มของผู้ประกันตนมาตรา 39 จะต้องไม่เกินเงินสมทบที่ต้องจ่าย เป็นต้น
2. ยกระดับการบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเชิงรุก โดยปรับปรุงรายการสุขภาพ ได้แก่
  – ขยายช่วงอายุ เพิ่มความถี่ในการตรวจ เพิ่มรายการตรวจ สุขภาพ เช่น การซักประวัติ การประเมินวัยทำงาน (คัดกรองโรคซึมเศร้า ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด) การคัดกรองไวรัสตับอักเสบซี (Anti HCV Rapid) การทำงานของตับ (SGOT, SGPT)
  – เพิ่มการให้คำแนะนำและปรับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
  – พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพรายบุคคล ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเชิงรุกและสามารถพิสูจน์ตัวบุคคลที่มีสิทธิได้อย่างถูกต้องและเชื่อมโยงข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำสมุดสุขภาพของผู้ประกันตน
  – การขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
3. พัฒนาและเพิ่มช่องทางรับเงินสมทบ
  – จ่ายประโยชน์ทดแทนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้นายจ้างและผู้ประกันตนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยเพิ่มช่องทางการรับชำระเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ผ่าน mobile application กับธนาคารและหน่วยบริการอื่น ๆ
  – เพิ่มช่องทางการชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ผ่านคิวอาร์โค้ด โดยการสแกนจ่าย ด้วย mobile banking application ของธนาคารต่าง ๆ โดยมีธนาคารกรุงไทยเป็นตัวกลางในการรวบรวมและนำส่งข้อมูลการชำระเงินและเงินที่รับชำระจากนายจ้าง/ผู้ประกันตน ส่งให้กับสำนักงานประกันสังคม
  – เพิ่มธนาคาร ธ.ก.ส. เป็นหน่วยบริการในการรับชำระเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33 ผ่านระบบ e-Payment จากเดิม 13 แห่ง เป็น 14 แห่ง
 
          ทั้งนี้ ได้มีการพัฒนาระบบเพื่อให้ผู้ประกันตน และนายจ้างสามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หากดำเนินการแล้วเสร็จ replicas tag heuer สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกันตนได้เข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา และได้รับประโยชน์ทดแทนที่ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นต้น
 
ที่มา : มติชนออนไลน์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th