งานบริหารโครงการและตรวจสอบอิสระ โครงการก่อสร้าง ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครสายสีแดง (1)

รายละเอียดโครงการ

เป็นการพัฒนาเร่งด่วนของระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรคับคั่ง เนื่องจากความต้องการในการขนส่งระหว่างในเมืองกับชานเมือง การรถไฟแห่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นหน่วยงานบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) จึงได้ดำเนินการประกวดราคาก่อสร้างช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน ในเดือนธันวาคม 2550 และได้ดำเนินการประกวดราคาช่วงบางซื่อ – รังสิต ต่อมา โดยในส่วนของช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน ได้ใช้เงินงบประมาณภายในประเทศ ส่วนช่วงบางซื่อ – รังสิต ใช้เงินกู้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (JICA) ODA จากประเทศญี่ปุ่นรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน ก่อสร้างด้วยระบบรางกว้าง 1 เมตร (Meter gauge) เริ่มจากระยะประมาณ 800 เมตร ทางด้านเหนือของสถานีบางซื่อในปัจจุบัน ยกระดับไปตามเส้นทางรถไฟสายใต้ในปัจจุบัน ถึงสถานีรถไฟบางบำหรุ ต่อเนื่องถึงปลายทางที่แยกสวนผัก เขตตลิ่งชัน มีความยาวรวม 15.26 กม. โดยมีรั้วกั้นสองข้างตลอดแนวเส้นทางเพื่อความปลอดภัย และจัดให้มีจุดกลับรถยนต์บนถนนเลียบทางรถไฟ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจร ในส่วนเส้นทางยกระดับความยาวประมาณ 7.7 กม. ข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ แม่น้ำเจ้าพระยา ถนนประชาราษฎร์สาย 1, ถนนกรุงเทพ- นนทบุรี, ถนนประชาชื่น และคลองประปา โดยจุดสิ้นสุดของเส้นทางยกระดับจะเตรียมต่อกับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เพื่อเข้าสถานีบางซื่อโดยมีสถานีระหว่างทาง 3 สถานี คือ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และ สถานีตลิ่งชันรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต เป็นเส้นทางยกระดับเริ่มจากทางทิศใต้ของสถานีบางซื่อในปัจจุบัน ถัดจากแยกปฏิพัทธ์ มุ่งขึ้นเหนือ ผ่านสถานีบางซื่อ, บางเขน, หลักสี่ และดอนเมือง หลังจากนั้นจึงลดระดับลงเป็นระดับบนพื้นดิน จนสิ้นสุดที่สถานีรังสิต ความยาวเส้นทางประมาณ 26 กม. ยังไม่รวมส่วนทางเข้าโรงซ่อมบำรุง เส้นทางหลักจะเป็นทางวิ่งขนาดรางกว้าง 1 เมตร จำนวน 3 ทางวิ่ง รองรับรถไฟฟ้าชานเมือง และรถไฟทางไกลวิ่งร่วมกัน ซึ่งอาจจะผสมผสานระหว่างรถไฟที่ใช้ไฟฟ้าแบบ Overhead Catenary หรือรถไฟแบบดั้งเดิมที่ใช้เครื่องจักรดีเซล โดยมีจำนวนสถานีในเบื้องต้น 8 สถานี คือ สถานีกลางบางซื่อ สถานีจตุจักร สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ สถานีการเคหะ สถานีดอนเมือง และสถานีรังสิต โดยมีแผนที่จะเพิ่มในอนาคตอีก 2 สถานี คือ สถานีวัดเสมียนนารี และสถานีหลักหก ร.ฟ.ท. ได้ลงนามสัญญาก่อสร้างกับผู้รับจ้างบางสัญญาแล้ว ได้แก่สัญญางานโยธา 2 สัญญา ลงวันที่18 มกราคม 2556 และ 31 มกราคม 2556  และจะลงนามสัญญาที่ 3 คือ สัญญางานระบบรถไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้ สัญญาที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างลงวันที่ 26 มีนาคม 2556 กำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 48 เดือน

รายละเอียดการดำเนินงาน

โครงสร้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารโครงการ (และผู้ตรวจสอบอิสระ) (PMRL) ประกอบด้วย
1)ที่ปรึกษาเพื่อบริหารโครงการ
2)ผู้ตรวจสอบอิสระ
ในการให้บริการ PMRL จะมุ่งให้คำปรึกษา และสนับสนุน ร.ฟ.ท. ทางด้านเทคนิคและบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น PMRLจะปฏิบัติงานขึ้นตรงกับ ร.ฟ.ท. โดยไม่มีหน้าที่กำกับดูแลที่ปรึกษาควบคุมงาน (CSC) และผู้รับจ้าง (Contractor) โดยตรงในส่วนผู้ตรวจสอบอิสระจะมุ่งให้บริการในการรับรองระบบทั้งงานโยธา งานสถาปัตยกรรม งานสถานี รวมทั้งงานระบบรถไฟฟ้า โดยจะต้องยืนยันว่าทุกระบบมีความสมบูรณ์และพร้อมใช้ในการให้บริการเชิงพาณิชย์
โครงสร้างองค์กรแยกออกเป็น 5 ส่วนหลักๆ ดังต่อไปนี้
1)กลุ่มบริหาร (Management Group) ประกอบด้วย ผู้จัดการโครงการ (PM) และรองผู้จัดการโครงการ (DPMs) ฝ่ายต่างๆ ได้แก่ DPM-Civil, DPM-Railway ดูแลบริการด้าน PMC, DPM-Project Control ดูแลบริการด้าน PMC และ ICE, DPM-ICE ดูแลบริการด้าน ICE กลุ่มบริหารนี้จะทำงานร่วมกันเป็นทีมผู้บริหารหลักในการดำเนินงานบริการ และผู้จัดการโครงการ หรือรองผู้จัดการโครงการอาจขอการสนับสนุนจากลุ่มบริษัทที่เข้าร่วมเมื่อมีความจำเป็น

2)การควบคุมโครงการ/สัญญา/การเงิน/การเชื่อมต่อและการประสานงาน (Project Control/Contract Administration/ Finance/ Interface & Coordination) ในฝ่ายนี้จะดูแลบริการด้าน PMC ยกเว้นบางตำแหน่ง เช่น ผู้จัดการประสานงาน (Coordination Manager), ผู้ประสานงานโยธา (Coordinator Civil), ผู้ประสานงานระบบทางรถไฟ (Coordinator Railway), หัวหน้าวิศวกรเอกสาร (Chief Document Engineer), ผู้เชี่ยวชาญด้านสัญญาและการเรียกร้อง 2 (Contract and Claim Expert 2) และผู้เชี่ยวชาญการประกันคุณภาพ (Quality Assurance Specialist) จะให้บริการทั้งด้าน PMC และ ICE ฝ่ายนี้จะดำเนินการในการทำงานที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
การควบคุมเอกสาร (Document Control)
การจัดแผนงาน (Scheduling)
การประสานงาน (Coordination)
สัญญา/การเรียกร้อง และกฎหมาย (Contract/Claim and Legal)
การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) 
การเงิน/ค่าใช้จ่าย (Financial/Cost)
การพัฒนาสิ่งแวดล้อม/สังคม (Environment/Social Development)
สาธารณะ/ชุมชนสัมพันธ์ (Public/Community Relations)
การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement)

3)งานโยธา/สถาปัตยกรรม/สถานี/สิ่งอำนวยความสะดวก (Civil / Architectural / Station / Facilities)ฝ่ายนี้จะดูแลจัดการงานโครงการที่เกี่ยวกับงานโยธา งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม ระบบประกอบอาคาร ระบบความปลอดภัยจากอัคคีภัย การก่อสร้าง และสาธารณูปโภค นอกจากนี้ ฝ่ายจะจัดการงานโครงการภายใต้การควบคุมของรองผู้จัดการโครงการฝ่ายโยธา (DPM – Civil) ซึ่งจะมีบทบาทเกี่ยวข้อง ทั้งในบริการการบริหารจัดการโครงการ (PMC) และวิศวกรรมตรวจสอบอิสระ (ICE)

4)ระบบทางรถไฟ (Railway Systems)ฝ่ายนี้จะดูแลงานทั้งหมดที่เกี่ยวกับระบบทางรถไฟ ภายใต้การกำกับดูแลของรองผู้จัดการโครงการฝ่ายทางรถไฟ (DPM Railway) และให้บริการ ทั้งด้านบริการ PMC และ ICE ของโครงการและมีส่วนย่อยต่างๆ ที่ครอบคลุมทั้งหมดเกี่ยวกับระบบทางรถไฟ ดังนี้
อาณัติสัญญาณ และการควบคุมการเดินรถ (Signaling and Train Control)
การสื่อสาร (Communication)
แหล่งจ่ายพลังงาน (Power Supply)
ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC System)
ล้อเลื่อน (Rolling Stock)
งานราง (Track work)
อุปกรณ์ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot/Workshop Equipment)
การบูรณาการและการเชื่อมต่อระบบ (System Integrating & Interfacing)

5)การประกันระบบ/ความปลอดภัย/การดำเนินงานการรักษาความปลอดภัย (System Assurance/Safety/Security Operation)
ฝ่ายนี้ประกอบด้วยตำแหน่งหลักสำหรับบริการด้าน ICE ให้บริการด้าน ICE เท่านั้นและจะกำกับพนักงานฝ่ายอื่นๆ ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้าน ICE ฝ่ายนี้จะดูแลเฉพาะงานด้าน ICE ของโครงการ ซึ่งประกอบด้วยแผนกต่างๆ ดังนี้
การดำเนินงานรถไฟ (Railway Operation)
ระบบความปลอดภัยและเหตุฉุกเฉิน (Safety System and Emergency)
RAMS and Risk Management
การรักษาความปลอดภัย (Security)
Rolling Stock M&O
การทดสอบและการทดลองเดินระบบ (Testing and Commissioning)ฝ่ายนี้จะรับผิดชอบกับงานบริการด้าน ICE อย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้การกำกับดูแลของ DPM – ICE และการสนับสนุนในส่วนที่เกี่ยวข้องจากฝ่ายโยธา (Civil) และระบบรถไฟ (Railway System)

ชื่อโครงการ งานบริหารโครงการและตรวจสอบอิสระ โครงการก่อสร้าง ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครสายสีแดง (1)
สถานที่ กรุงเทพมหานคร
เจ้าของงาน การรถไฟแห่งประเทศไทย
ระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม 2556 – พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ