โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉินของเขื่อนน้ำอูน

Narrative Description

เขื่อนน้ำอูนเป็นเขื่อนดินกั้นแม่น้ำอูน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร สามารถส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกได้ 185,800 ไร่ เป็นการศึกษาการจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉินของเขื่อน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้อาศัยอยู่บริเวณท้ายเขื่อน และการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำอย่างปลอดภัย และรองรับการผันน้ำเขื่อนเชื่อมโยงระหว่างอ่างเก็บน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ศึกษาลักษณะน้ำหลากลงอ่างเก็บน้ำในรอบปีต่างๆ ถึงปริมาณมากขั้นรุนแรง
2. วิเคราะห์ความต้านทานต่อการพิบัติในรูปแบบต่างๆ ทั้งสภาวะปกติ แผ่นดินไหว และโอกาสจะเกิดการพิบัติของเขื่อน
3. ศึกษาการเครื่อนตัวของน้ำหลากผ่านพื้นที่และผลกระทบที่ได้รับจากการเกิดเขื่อนพิบัติ
4. ประเมินความเสี่ยงจากการพิบัติของเขื่อนในกรณีต่างๆ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน
5. จัดทำเกณฑ์ความปลอดภัยของเขื่อนจากข้อมูลเครื่องมือวัดพฤติกรรม
6. ศึกษาออกแบบระบบเตือนภัยของเขื่อน
7. ศึกษากำหนดแนวทางการดำเนินงาน รูปแบบแผนปฏิบัติการขององค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเขื่อนและประชาชนท้ายน้ำ
8. จัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉินสำหรับชุมชน จากการพิบัติของเขื่อน และการเกิดอุทกภัยจากการระบายน้ำของเขื่อน
9. จัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการเขื่อน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งกรณีปกติและฉุกเฉิน

 

Services Description

งานบริการที่ปรึกษา ประกอบด้วย
• รวบรวม วิเคราะห์ด้านอุทกวิทยา ด้านวิศวกรรม ข้อมูลโครงการระหว่างการก่อสร้าง และเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน
• ตรวจสอบสภาพเขื่อนและสำรวจเพื่อจัดทำผังบริเวณ รูปตัดตามยาวและ
รูปตัดตามขวางของตัวเขื่อน แสดงสภาพปัจจุบันและจุดบกพร่อง
• ศึกษาลักษณะของความเสียหายของเขื่อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ในด้านขนาด รูปร่าง ระยะเวลาในการเกิดความเสียหาย โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมและทันสมัย
• ศึกษากราฟน้ำหลาก จากการระบายน้ำมากกว่าปกติ และที่เกิดจากความเสียหายของเขื่อน โดยการศึกษาครอบคลุมปัจจัยด้านลักษณะทางเรขาคณิตและพื้นผิวน้ำ ระดับน้ำด้านท้ายน้ำและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
• ศึกษาผลกระทบจากการพิบัติของตัวเขื่อนในกรณีต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ ทั้งกรณีเกิดและไม่เกิดแผ่นดินไหว โดยครอบคลุมขอบเขตพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ การประเมินความเสียหายในรูปแบบพื้นที่จำนวนอาคารสถานที่ ประชากรที่มีความเสี่ยง จำนวนผู้เสียชีวิตที่เป็นไปได้ และมูลค่าความเสียหาย
• สำรวจภูมิประเทศในพื้นที่ได้รับผลกระทบโดยสำรวจเพิ่มเติมที่จำเป็น หรือตามที่คณะกรรมการตรวจการจ้างฯ กำหนด
• รวบรวม และดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยเป็นปัจจุบัน เพื่อจัดทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ผังเมือง แนวโน้มการพัฒนาที่ดินของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนพิบัติและการปล่อยน้ำเป็นปริมาณมาก รวมทั้งสำรวจตรวจสอบความเสียหายของพื้นที่น้ำท่วม
• รวบรวม ตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่ DEM ของกระทรวง เพื่อใช้เป็นแผนที่ฐานในการปฏิบัติงานของที่ปรึกษา
• ศึกษาการเคลื่อนตัวของน้ำหลากโดยวิธีชลศาสตร์ เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่ท้ายน้ำกรณีก่อนการเกิดการพิบัติของเขื่อน
• ประเมินความเสี่ยงต่อการพิบัติของเขื่อนเป็นเชิงปริมาณและผลกระทบจากการพิบัติในกรณีต่าง ๆ
• ศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการเขื่อน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในกรณีปกติและฉุกเฉิน และรองรับการผันน้ำเชื่อมโยงระหว่างเขื่อน 
• จัดทำแผนที่ขอบเขตน้ำท่วม จากการพิบัติของเขื่อนและการระบายน้ำปริมาณมาก เพื่อแสดงรายละเอียดของความลึกน้ำ ความเร็วการไหล ระยะเวลา และระดับความรุนแรงของอุทกภัยของพื้นที่เสี่ยงภัย
• จัดทำแผนที่ขอบเขตน้ำท่วม จากการพิบัติของเขื่อนและการระบายน้ำปริมาณมาก โดยแบ่งเป็นพื้นที่ย่อย สำหรับการวางแผนการระบายน้ำ เพื่อลดผลกระทบให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
• ศึกษาและจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉิน สำหรับชุมชนในกรณีเกิดการพิบัติของเขื่อน รวมถึงกรณีเกิดอุทกภัยจากการระบายน้ำของเขื่อนในปริมาณมาก และจัดให้มีการฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉิน
• จัดทำแผนปฏิบัติการขององค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิบัติของเขื่อน ทั้งในกรณีสภาวะปกติ สภาวะก่อนการได้รับผลกระทบและสภาวะเมื่อได้รับผลกระทบจากการเกิดการพิบัติของเขื่อน
• กำหนดเกณฑ์ความปลอดภัยจากข้อมูลผลการตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อนที่สามารถบ่งบอกสถานะความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนเป็นระดับได้
• ศึกษา ออกแบบและประมาณราคาระบบเตือนภัย สถานที่ตั้งหอเตือนภัยและอุปกรณ์ประกอบที่เหมาะสม
• ศึกษาและจัดทำแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน หน่วยงานของรัฐ ในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบ
• จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งละ 2 เวที เวทีละไม่น้อยกว่า 50 คน
• ถ่ายทอดความรู้เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน เพื่อถ่ายทอดความรู้การใช้โปรแกรมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อจัดทำแผนที่น้ำท่วม
• ถ่ายทอดความรู้เจ้าหน้าที่กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อซักซ้อมและถ่ายทอดการใช้แผนปฏิบัติการฉุกเฉิน

 

Name of Project โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉินของเขื่อนน้ำอูน
Location จังหวัดสกลนคร
Client ส่วนความปลอดภัยเขื่อน กรมชลประทาน
Duration มิถุนายน 2563 – เมษายน 2564
Project Cost