โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉิน (EAP) เขื่อนคลองหลวงรัชชโลทร จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2564

Narrative Description

          อ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร มีความจุ 98 ล้าน ลบ.ม. สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานได้ 44,000 ไร่ มีความจำเป็นต้องจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉินสำหรับชุมชน จากการพิบัติของเขื่อนในกรณีต่างๆ รวมถึงกรณีอุทกภัยจากการระบายน้ำของเขื่อนในปริมาณมาก เพื่อการลดความเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่ต้นท้ายน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.ศึกษาลักษณะน้ำหลากลงอ่างเก็บน้ำในรอบปีต่างๆ 
2.ประเมินความเสี่ยงจากการพิบัติของเขื่อนในรูปแบบและกรณีต่าง ๆ ในเชิงปริมาณ
3.วิเคราะห์รูปแบบการพิบัติของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ในสภาวะปกติและสภาวะแผ่นดินไหว เพื่อนำมาจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉิกเฉิน
4.ศึกษาการเคลื่อนตัวของน้ำหลากและผลกระทบที่เกิดจากการระบายน้ำในรอบปีต่าง ๆ จนถึงปริมาณมากขั้นรุนแรง
5.การวิเคราะห์ความต้านทานต่อการพิบัติในกรณีแผ่นดินไหว ด้วยวิธีพลศาสตร์
6.เพื่อจัดทำเกณฑ์ความปลอดภัยเขื่อนจากข้อมูลเครื่องมือวัตพฤติกรรม
7.ศึกษาออกแบบเบื้องต้นระบบเตือนภัย ที่ตั้งหอเตือนภัยแบบเตือนภัยเบื้องต้น และอุปกรณ์ประกอบ
8.เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเขื่อนและประชาชนด้านท้ายน้ำ
9.เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉิน สำหรับประชาชนจากการพิบัติของเขื่อนในกรณีต่าง ๆ
10.เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการเขื่อน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งกรณีปกติและฉุกเฉิน

Services Description

งานบริการที่ปรึกษา ประกอบด้วย
•รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านอุทกวิทยา ด้านวิศวกรรม ข้อมูลระหว่างการก่อสร้าง และเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน
•ตรวจสอบสภาพเขื่อนและสำรวจเพื่อจัดทำผังบริเวณ รูปตัดตามยาวและ
รูปตัดตามขวางของตัวเขื่อน 
•ศึกษาลักษณะของความเสียหายของเขื่อนที่อาจเกิดขึ้น ในด้านขนาด รูปร่าง ระยะเวลาในการเกิดความเสียหาย โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์
•ศึกษากราฟน้ำหลาก จากการระบายน้ำมากกว่าปกติ และที่เกิดจากความเสียหายของเขื่อน 
•ศึกษาผลกระทบจากการพิบัติของตัวเขื่อนในกรณีที่เกิดและไม่เกิดแผ่นดินไหว การประเมินความเสียหายในรูปแบบพื้นที่ จำนวนอาคารสถานที่ ประชากรที่มีความเสี่ยง จำนวนผู้เสียชีวิต และมูลค่าความเสียหาย
•สำรวจภูมิประเทศในพื้นที่ได้รับผลกระทบโดยสำรวจเพิ่มเติมที่จำเป็น 
•รวบรวม และสำรวจข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อจัดทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ผังเมือง แนวโน้มการพัฒนาที่ดินของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
•รวบรวม ตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่ DEM (1:4,000)
•ศึกษาการเคลื่อนตัวของน้ำหลากโดยวิธีชลศาสตร์ เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่ท้ายน้ำ
•ประเมินความเสี่ยงต่อการพิบัติของเขื่อนเป็นเชิงปริมาณ โอกาสเกิดภัยภิบัติ และผลกระทบจากการพิบัติในกรณีต่าง ๆ
•ศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการเขื่อน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในกรณีปกติและฉุกเฉิน และรองรับการผันน้ำเชื่อมโยงระหว่างเขื่อน 
•จัดทำแผนที่ขอบเขตน้ำท่วม จากการพิบัติของเขื่อนและการระบายน้ำปริมาณมาก เพื่อแสดงรายละเอียดของความลึกน้ำ ความเร็วการไหล ระยะเวลา และระดับความรุนแรงของอุทกภัยของพื้นที่เสี่ยงภัย
•ศึกษาและจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉิน สำหรับชุมชนในกรณีเกิดการพิบัติของเขื่อน รวมถึงกรณีเกิดอุทกภัยจากการระบายน้ำของเขื่อนในปริมาณมาก และจัดให้มีการฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉิน
•จัดทำแผนปฏิบัติการขององค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิบัติของเขื่อน 
•กำหนดเกณฑ์ความปลอดภัยจากข้อมูลผลการตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อน
•ศึกษา ออกแบบเบื้องต้นระบบเตือนภัย สถานที่ตั้งหอเตือนภัยและอุปกรณ์ประกอบ
•ศึกษาและจัดทำแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน หน่วยงานของรัฐ ในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบ
•จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ 
•ถ่ายทอดความรู้เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ด้านการใช้โปรแกรมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อจัดทำแผนที่น้ำท่วม
•ถ่ายทอดความรู้เจ้าหน้าที่กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อซักซ้อมและถ่ายทอดการใช้แผนปฏิบัติการฉุกเฉิน
•จัดทำเอกสารทางวิชาการเพื่อใช้ประชุมหรือเผยแพร่ด้านวิชาการ

 

Name of Project โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีฉุกเฉิน (EAP) เขื่อนคลองหลวงรัชชโลทร จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2564
Location จังหวัดชลบุรี
Client กรมชลประทาน
Duration
Project Cost