โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันตก

รายละเอียดโครงการ

   ฝั่งทะเลด้านฝั่งตะวันออกและตะวันตกของอ่าวไทย มีการกัดเซาะในอัตราเฉลี่ยมากกว่า 5.0 เมตรต่อปี โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาชายฝั่งทะเลอ่าวไทย เป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม นำเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นชอบ ก่อนดำเนินการโครงการก่อสร้าง ประกอบด้วย
1.การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณตำบลปากทะเล และตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม ระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 7 กิโลเมตร และกำหนดแนวทาง วิธีการป้องกันและแก้ไขที่เหมาะสม 
2.สำรวจออกแบบรายละเอียด โครงสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทั้งจัดเตรียมเอกสารประกอบการประกวดราคาก่อสร้าง
3.การศึกษา และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) งานก่อสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ตามแนวทางของสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อนำเสนอ สผ. ให้ความเห็นชอบ

รายละเอียดการดำเนินงาน

งานบริการที่ปรึกษา ประกอบด้วย
•การสำรวจและศึกษาด้านวิศวกรรมชายฝั่ง
1.รวบรวมและตรวจสอบข้อมูล แผนที่ภูมิประเทศ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียมและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชายฝั่งทะเลในบริเวณพื้นที่โครงการและข้างเคียง
2.สำรวจสภาพภูมิประเทศริมชายทะเล ความลึกท้องน้ำ และสภาพพื้นท้องทะเล สำรวจทางด้านธรณีฐานราก โครงสร้างในทะเลและโครงสร้างป้องกันชายฝั่งเดิมที่ สำรวจสภาพการใช้งานของที่ดินชายฝั่งในพื้นที่โครงการ แนวท่อส่งน้ำเข้านากุ้ง รวมทั้งขอบเขตที่มีการประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์หรือพื้นที่พิเศษในบริเวณโครงการ สำรวจแหล่งวัสดุก่อสร้าง 
3.รวบรวมและตรวจข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการออกแบบ อันได้แก่ ข้อมูลด้านสภาพทางสมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา ข้อมูลลม ข้อมูลคลื่น ข้อมูลกระแสน้ำ ข้อมูลระดับน้ำ แหล่งวัสดุก่อสร้าง
4.วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
5.ศึกษาสถิติการเกิดและความรุนแรงของพายุ และมรสุมที่ผ่านมา รวมถึงสภาพการเกิดคลื่นลมกระแสน้ำ
6.เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่โครงการ อย่างน้อย 3 ทางเลือก โดยพิจารณารวมถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ความสวยงาม ผลกระทบต่อการใช้งานชายหาด ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และผลกระทบอื่น ๆ 
7.เสนอแนะแนวทางลดผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งข้างเคียงของโครงการ รวมถึงผลกระทบด้านอื่นที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งในขณะการก่อสร้างและหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ  และกำหนดมาตรการในการติดตามตรวจสอบ
8.เสนอแผนการปฏิบัติงานตามทางเลือกที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด  รวมทั้งงบประมาณระยะเวลาในการดำเนินการ และหน่วยงานที่รับผิดชอบ
9.ศึกษาเบื้องต้นด้านเศรษฐกิจ ความคุ้มค่าของโครงการ และค่าก่อสร้าง
•การออกแบบรายละเอียด
1.ออกแบบรายละเอียดขององค์ประกอบโครงการ ตามแนวทางเลือกที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด โดยให้มีผลกระทบที่น้อยที่สุด และต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม อีกทั้งคำนึงถึงความคิดเห็นของชุมชน ตลอดจนสอดคล้องกับผลการศึกษาออกแบบเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณข้างเคียง
2.วางแผนและกำหนดขั้นตอนของการก่อสร้าง รวมทั้งรายละเอียดของเครื่องจักร อุปกรณ์การก่อสร้างที่จำเป็น ตลอดจนเสนอแหล่งวัสดุต่างๆ ในการก่อสร้าง
3.ประเมินปริมาณงาน จัดทำราคากลางค่าก่อสร้างของโครงการตามหลักเกณฑ์ของกรมบัญชีกลางล่าสุด ค่าบำรุงรักษา รวมถึงการจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการ โดยราคากลางค่าก่อสร้างจะต้องมีหลักฐานแสดงที่มาของราคานั้นด้วย (Back – up Sheet)
4.จัดทำเอกสารแบบรายละเอียดในขั้นสุดท้าย พร้อมจัดทำเอกสารประกวดราคารายการประกอบแบบ เงื่อนไขการประกวดราคา ข้อกำหนดต่าง ๆ ร่างสัญญา รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5.ให้คำแนะนำจังหวัดเพชรบุรี ในการประกวดราคา
•การศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
1.ศึกษาสำรวจและวิเคราะห์สภาพทรัพยากรและคุณค่าสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครการและพื้นที่ใกล้เคียง ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
2.การประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ
3.ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม จากกิจกรรมการพัฒนาโครงการ ทั้งในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ 
4.ศึกษาผลกระทบต่อชุมชนและสังคม วัฒนธรรม อาชีพ ความปลอดภัย และวิถีชีวิตที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ โดยผนวกรวมไปกับการดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชน และรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 
5.เสนอมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะก่อสร้างและระยะเวลาดำเนินการ
•การประชาสัมพันธ์และประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงการศึกษาและรับฟังความคิดเห็น
ชื่อโครงการ โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันตก
สถานที่ จังหวัดเพชรบุรี
เจ้าของงาน จังหวัดเพชรบุรี
ระยะเวลาดำเนินการ มกราคม 2559 – มกราคม 2560
งบประมาณ